สรุปเนื้อหา เรื่อง นโยบายเชิงกลยุทธ์ด้าน AI และการ ขับเคลื่อน SCBX Unlocking AI (EP1)

National AI Strategy Policy, Guidelines, Standard & Law

สรุปเนื้อหา เรื่อง นโยบายเชิงกลยุทธ์ด้าน AI และการ ขับเคลื่อน SCBX Unlocking AI (EP1)

สรุปเนื้อหา เรื่อง นโยบายเชิงกลยุทธ์ด้าน AI แห่งชาติ จากงานสัมมนา SCBX Unlocking AI (EP1)

Keynote: National AI Strategy Policy, Guidelines, Standard & Law

Event : SCBX Unlocking AI EP1 , Thailand Path to AI opportunities

Collaboration : SCBX และ Insiderly.ai 

Venue : SCBX NextTech, สยามพารากอน ชั้น 4

Speaker : ดร.อภิวดี ปิยธรรมรงค์ , Senior Researcher NECTEC

อนาคตเป็นของคนที่เตรียมตัวตั้งแต่วันนี้ ท่ามกลางปัญหาต่างๆ ที่ถาโถมเข้ามา

AI กลายเป็นภัยคุกคามสำคัญที่อาจทำให้หลายคนตกงาน และเปลี่ยนวิถีชีวิตหมดทุกรูปแบบ

ดังนั้น การเตรียมพร้อมรับมือตั้งแต่วันนี้ด้วยการวางกลยุทธ์ การสร้างมาตรฐาน การวางระเบียบปฏิบัติไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ จะนำไปสู่ทางรอดของทุกคนอย่างแท้จริง

ดร.อภิวดี ปิยธรรมรงค์ (Senior Researcher NECTEC) อธิบายว่า จากการศึกษาเรื่อง AI Standard เมื่อปีที่แล้ว พบว่ามาตรฐานด้าน AI นั้นจะเกิดขึ้นได้ ต้องทำความเข้าใจกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แล้วพบว่ามันส่งผลต่อนักพัฒนาและผู้ใช้หลายประการ

สิ่งที่ทำให้ต้องสนใจเรื่องนี้คือ AI ACT หรือร่างกฎหมายที่เปิดให้รับฟังความคิดเห็น และคาดว่าจะประกาศใช้งานภายในปี 2024 ที่มีผลกระทบต่อผู้พัฒนาทั่วโลก ว่าจะเอา AI ไปใช้งานอย่างไรในองค์กรตัวเอง

ทำให้นักพัฒนาทั่วโลกลุกฮือ ไม่พอใจ หรือมีข้อกังวลเกี่ยวกับข้อกฎหมายที่ออกมา ทั้งที่จริงนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่พูดถึงมาตรฐาน AI

เรื่องนี้โด่งดังมาตั้งแต่ปี 2016 ที่ผู้คนเริ่มทำความเข้าใจมาตรฐาน AI ที่พูดเรื่องการทำความเข้าใจ AI ด้านต่างๆ รัฐบาลทั่วโลกก็ให้ความสนใจ เกิดเป็นการตั้งรับว่าจะรับมือกับ AI เพื่อปกป้องประชาชนอย่างไรบ้าง

ย้อนกลับไปที่ AI ACT มีไว้เพื่อตัดสินว่า AI นั้นมีความเสี่ยงระดับใด

ความเสี่ยงต่ำ อาจไม่ต้องกังวลอะไรมาก แต่ต้องให้ผู้ใช้รับรู้ว่ากำลังใช้งานสิ่งนี้อยู่

แต่ถ้ามีความเสี่ยงสูง ผู้พัฒนาจะต้องทำสิ่งที่เรียกว่า Trustworthyness AI จำนวน 8 requirements และ 15 subs-requirement เพื่อให้ผู้พัฒนามีความรับผิดชอบต่อสังคม ลดช่องว่างของการใช้ AI ไปในทางที่ผิดให้ได้

สำหรับประเทศไทยมีมุมมองอย่างไรต่อเรื่องนี้?

ไทยมีความตั้งใจศึกษานโยบายต่างประเทศ เพื่อดูว่าจะสามารถนำมาปรับใช้กับประเทศตัวเองได้อย่างไร จนกลายเป็นแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์เพื่อการพัฒนาประเทศไทย พ.ศ.2565-2570 และผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเรียบร้อย

รวมถึงเกิดคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งงชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ซึ่งมีหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน ผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายสายมาช่วยกันขับเคลื่อนประเด็นดังกล่าว

NECTEC รับหน้าที่เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการในการขับเคลื่อนเรื่องนี้ด้วย และหลังจากขับเคลื่อนมา 1 ปี ก็ออกมาเป็น 5 ยุทธศาสตร์ ดังนี้

  1. จริยธรรมและกฎระเบียบ AI

สิ่งที่หลายคนกังวลคือยุทธศาสตร์ที่ 1 ว่าจะส่งผลกระทบอย่างไร AI จะเข้ามายกระดับชีวิตผู้คนอย่างไร

เป้าหมายความสำเร็จของยุทธศาสตร์ที่ 1 จึงตั้งเป้าว่าจะต้องทำให้คน 600,000 คน ตระหนักถึงความสำคัญของการมีกฎหมาย ข้อบังคับด้าน AI

ทั้งนี้ ยังไม่มีหน่วยงานไหนที่ประกาศออกมาเป็นกฎหมาย แต่มีหลายหน่วยงานที่อยากสร้าง อยากพัฒนาไกด์ไลน์ เพื่อช่วยในเรื่องของการส่งออก

  1. โครงสร้างพื้นฐานสำหรับ AI

เป้ามหายของยุทธศาสตร์นี้คือ จะทำอย่างไรให้เกิดการเชื่อมโยงเดต้าขนาดใหญ่ ให้คนเข้าถึงข้อมูล เพื่อนำไปพัฒนาโมเดลของเขาได้

  1. กำลังคนด้าน AI

การตั้งเป้าแค่มีหลักสุตรด้าน AI ในระดับปริญญาถือว่าช้าเกินไป ไม่ตอบโจทย์ธุรกิจแล้ว ดังนั้นยุทธศาสตร์นี้จึงสนับสนุนให้เกิดการสร้างทักษะทุกระดับ ตั้งแต่เด็ก ไปจนถึงผู้ใหญ่ให้เข้าใจเรื่องของเทคโนโลยี แต่ปัจจุบันยังสามารถพัฒนากำลังคนได้ในหลักร้อยเท่านั้น ยังไปไม่ถึงเป้าหมายที่ 30,000 คนต่อปี

  1. วิจัยพัฒนาและนวัตกรรม AI

หนึ่งในเป้าหมายสำคัญคือการสร้าง AI ที่เป็นนวัตกรรมของไทยเอง ถ้าไม่มี AI ที่เป็นภาษาไทย จะพึ่งพาแต่เทคโนโลยีของต่างประเทศเท่านั้น ย่อมไม่สามารถสู้ต่างชาติได้

  1. ส่งเสริมธุรกิจและการใช้ AI

ทำให้ GDP สูงขึ้น ทำให้ทุกคนเข้าถึง AI ที่ปลอดภัย ช่วยยกระดับชีวิตให้ได้

Key Outputs ของการทำงาน 1 ปีที่ผ่านมาตามยุทธศาสตร์ทั้ง 5 มีดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1 เปิดศูนย์ธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ (AIGC) ที่ตั้งขึ้นเพื่อพัฒนากรอบ
ธรรมาภิบาล AI ให้คำปรึกษาด้านนโยบาย พัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้

รวมถึงสร้างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้าน AI ทั้งในและต่างประเทศ

การศึกษาด้านมาตรฐาน ไกด์ไลน์ต่างๆ ตลอด 1 ปีที่ผ่านมาเกิดขึ้นมากมาย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทุกคน และนักพัฒนาจะต้องตระหนักในเรื่องนี้ เพื่อลดความเสี่ยงของการใช้งานและอันตรายที่จะเกิดขึ้น

เกิดสมาคม AIAT และ TCELS ที่ตั้งขึ้นเพื่อสร้างมาตรฐานการตรวจสอบความปลอดภัยในการใช้งานด้าน AI

เกิดร่าง พรฎ.การประกอบธุรกิจบริการที่ใข้งานระบบปัญญาประดิษฐ์ (ฉบับระดมความคิดเห็น) (สิงหาคม 2565)

และเกิดร่าง พรบ. ว่าด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์แห่งประเทศไทย พ.ศ…. (เมษายน 2566)

ยุทธศาสตร์ที่ 2 และ 3 เกิดแพลตฟอร์มบริการ AI บนคลาวด์ภาครัฐ (GDCC) ตามมติคณะกรรมการขับเคลื่อนแผน AI นอกจากนั้น สวทช. ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริม ววน. เปิดให้บริการ LANTA: HPC สำหรับ R&D ของรัฐและเอกชน

ยุทธศาสตร์ที่ 4 และ 5 ผลงานด้านนวัตกรรมและการประยุกต์ใช้

เกิดการบูรณาการจากทุกภาคส่วน ทั้งรัฐและเอกชน เกิดระบบวิเคราะห์เพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาความยากจนแบบชี้เป้า (TP Map) และเกิดเครือข่ายแพลตฟอร์มบริหารจัดการข้อมูลเปิดด้านการแพทย์ (Medical AI Data Sharing)

การแชร์ข้อมูลที่ได้มาตรฐานในเรื่องการแพทย์ที่สามารถแชร์ได้ เพื่อให้มีข้อมูลคุณภาพและพัฒนาต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลงานในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา

  • สามารถพัฒนาคนได้ 83,721 คน
  • เกิดโครงการวิจัยและพัฒนาด้าน AI ในกองทุน R&D 1,290 ล้านบาท
  • เกิด Startup ลงทุนเพิ่มจากการส่งเสริมของรัฐ 639 ล้านบาท เป็นต้น

แต่โครงการสำคัญในระยะต่อไป และความท้าทายยังรอคอยอยู่ ทั้งในเชิงการเอาไปใช้ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว อุตสาหกรรมการค้าและการเงิน อุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมความมั่นคั่ง และการวิจัยและพัฒนา LLM หรือแบบจำลองสำหรับ Generative AI ที่รองรับภาษาไทย

พันธมิตรร่วมขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ AI

  • NECTEC ยังต้องการพันธมิตรเพื่อช่วยยกระดับ AI เพิ่ม
  • หากใครสนใจสามารถติดต่อ NECTEC เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยด้วย AI ต่อไป ดูรายละเอียดได้ที่ เว็บไซต์ AI Thailand ของ NECTEC https://ai.in.th/ 
  • แผน AI แห่งชาติ → ดาวน์โหลด
  • ดาวน์โหลด Presentation ที่ ดร.อภิวดีใช้ในงานได้ → ที่นี่

Credit ภาพ : SCBX

Great! Next, complete checkout for full access to The Insiderly AI.
Welcome back! You've successfully signed in.
You've successfully subscribed to The Insiderly AI.
Success! Your account is fully activated, you now have access to all content.
Success! Your billing info has been updated.
Your billing was not updated.